การเขียนวิจัยบทที่ 2

การเขียนวิจัยบทที่ 2 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

ภาพจาก pexels.com

หากกล่าวถึงบทที่ 2 ให้เข้าใจง่ายๆ บทนี้่เป็นบทที่มีเนื้อหาการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นประเด็นหลัก โดยผู้วิจัยจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความ วารสารทางวิชาการ นิตยสาร ข้อมูลทางเว็บไซต์ หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ทำการวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ จากนั้นผู้วิจัยจะทำการพิจารณากำหนดหัวข้อแนวคิด ทฤษฎีที่มีความสอดคล้องกับหัวข้อหรือปัญหาในเรื่องที่กำลังศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนผลการวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเขียนบทที่ 2 อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน ที่จำเป็นต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานของตนเองที่ปฏิบัติอยู่ด้วย บทความนี้จึงมีแนวทางในการค้นคว้าเรียบเรียงส่วนประกอบต่างๆ  และขั้นตอนที่จะทำให้เขียนบทที่ 2 ประสบผลสำเร็จง่ายขึ้น ดังนี้

1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)

ภาพจาก pexels.com

การเก็บข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นตำรา เอกสารอ้างอิง รายงานทางวิชาการ วารสาร หรือนิตยสาร ที่มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ ผู้วิจัยจะต้องแสดงความหมาย แนวคิด ระเบียบวิธีวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของผู้วิจัย ซึ่งการเก็บข้อมูลเอกสารอาจเป็นงานวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้วิจัยต้องทำการนำเสนอออกมาในรูปแบบภาษาของผู้วิจัยเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนในงานเขียนของผู้อื่น จากนั้นให้เครดิตหรืออ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้ง เช่น 

“ผู้วิจัยต้องการทราบจำนวนพนักงานของบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ว่ามีจำนวนพนักงานทั้งหมดกี่คน ผู้วิจัยต้องทำการศึกษาข้อมูลจากรายงานประจำปีของบริษัทฯ ในปีล่าสุด ที่มีการแสดงจำนวนตัวเลขของพนักงานในปีนั้น หลังจากนั้นผู้วิจัยต้องทำการอ้างอิงแหล่งที่มา และปีที่ศึกษาของรายงานประจำปีบริษัทฯ  ด้วย” 

ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องทำการเก็บไฟล์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องในประเด็นการศึกษาครั้งนั้นไว้ทุกครั้งด้วยเช่นกัน เพื่อเอาไว้ทำแหล่งอ้างอิงของเอกสารให้ถูกต้องตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ด้วย นอกจากนั้นการเก็บไฟล์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ยังทำให้ผู้อ่านงานวิจัยทราบว่าผู้วิจัยใช้ผลงานของใครมาอ่านและค้นคว้าข้อมูล จนสามารถแยกแยะความคิดเห็นและโต้แย้งหลักการ เหตุผลออกมาในรูปแบบภาษาของผู้วิจัยเองได้ จนสามารถทราบถึงข้อความ จำนวนตัวเลข แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และตัวแปรต่างๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร อีกทั้งยังทำให้ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผลงานวิจัยที่ได้ค้นคว้ามาช่วยในการแปลความหมาย และสรุปผลการวิจัย ครั้งนั้น

โดยหลักการเขียนและเรียบเรียงเอกสารที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • จะต้องอ่าน ศึกษา และวิเคราะห์เอกสารให้มากก่อนที่จะลงมือเขียน
  • ศึกษาแนวทางในการเขียนจากงานที่เคยเขียนขึ้นมาแล้วจากเรื่องที่มีส่วนใกล้เคียงกับงานของผู้วิจัย
  • เรียงลำดับการเขียนจากกว้างมาแคบ หรือเรียงจากคีย์เวิร์ด โดยทำการแบ่งเป็นประเด็นๆ ไป
  • ทำการเรียบเรียงโดยเขียนเป็นภาษาเขียนของตัวเอง แล้วอ้างอิงให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ไม่เป็นการ
    คัดลอกผลงานเขียนของผู้อื่น
  • จัดหมวดหมู่การนำเสนอในแต่ละประเด็นในแต่ละคีย์เวิร์ด

2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง (Related Theories)

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องจะคล้ายกับตำรา เอกสารอ้างอิง รายงานทางวิชาการ วารสาร หรือนิตยสาร แต่เป็นข้อมูลของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการที่มีชื่อเสียงได้ทำการทุ่มเทเวลาส่วนตัวมากกว่าครึ่งชีวิต เพื่อศึกษาค้นคว้า จนสามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นหลักทฤษฎี และเป็นประโยชน์กับผู้คนหมู่มาก ได้สามารถนำหลักการ และแนวคิดดังกล่าวไปใช้ได้  เช่น 

“ทฤษฎีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps)  ของ Philip Kotler ซึ่งส่วนใหญ่ทฤษฎีนี้จะใช้กับธุรกิจบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจกับผู้ให้บริการ ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ จึงนำทฤษฎีนี้มาพัฒนา ปรับปรุงต่อยอดการให้บริการทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place/Channel Distribution) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านบุคคล (People) ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) โดยปัจจัยแต่ละด้านเป็นทฤษฎีที่ Philip Kotler ได้ศึกษามาอย่างครอบคลุมแล้วว่าสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี”  

ผู้วิจัยสามารถหาอ่านได้ตามงานวิจัยหลายเล่มที่ได้ทำการศึกษาการให้บริการในรูปแบบต่างๆ และหนังสือ วารสารวิชาการที่มีการกล่าวไว้อย่างหลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องถือเป็นสารระสำคัญของการทำวิจัยในบทที่ 2 ที่มีนักวิจัยหรือนักวิชาการได้ทำการบรรยายทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาไว้โดยละเอียด โดยเนื้อหาในส่วนนี้ คือการแสดงผลการศึกษาหลักการ ทฤษฏีความรู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการวิจัยที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา จึงควรมีเหตุผลหรือทฤษฏีหลักการทางวิทยาศาสตร์มารองรับเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับวิจัย และสามารถนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้าไปเชื่อมโยงการวิจัยนั้นว่าต้องทำการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ส่วนใดให้ดีขึ้น  

โดยหลักการเลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • ควรเลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับตัวแปรที่ศึกษาหรือเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  • ควรทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังศึกษา 
  • ควรนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับความสำคัญของตัวแปร
  • ควรหาเนื้อหาที่ทันสมัยและถูกต้องชัดเจน เชื่อถือได้

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related Research)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเป็นงานวิจัยที่เคยมีการทำมาก่อนแล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นงานประเภทเดียวกันหรือมีการทดลองที่คล้ายกันกับงานที่ทำ รูปแบบของงานจะอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องทราบแหล่งที่มาของเอกสาร เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้มาเป็นตัวกำหนดทิศทางการวิจัยได้อย่างถูกต้องทำให้มีความน่าเชื่อถือ 

โดยหลักการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • อ่าน ศึกษา และวิเคราะห์งานวิจัยที่สอดคล้องให้มาก
  • เรียงลำดับการเขียนจากกว้างไปแคบ หรือเรียงตามตัวอักษร
  • นำบทคัดย่อ สรุปผล และอภิปรายผล จากงานวิจัยที่มีเนื้อหาของงานคล้ายกับงานที่จะทำการศึกษา
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะต้องประกอบด้วยผลงานวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • การเขียนสรุปตอนท้ายของแต่ละประเด็นที่นำเสนอผู้วิจัยจะต้องใช้ภาษาของผู้วิจัยเอง
ภาพจาก pexels.com

จึงสามารถสรุปได้ว่าการเขียนบทที่ 2 เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีส่วนประกอบที่ได้บอกไว้ เพราะว่าจะช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำการวิจัย หากทำตามข้อปฏิบัติตามคำแนะนำของบทความผู้วิจัยจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่นได้  ส่วนการนำเสนอข้อมูลจะต้องมีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะช่วยให้เห็นถึงแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตนเอง นอกจากนั้นจะต้องมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย สร้างคุณภาพ และได้มาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น เพียงขั้นตอนเท่านี้ก็จะทำให้การทำบทที่ 2 ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

Related posts:

6 หัวข้อวิจัยด้านการศึกษาที่น่าสนใจ
หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจที่สุดบนโซเชียลมีเดีย
ความสำคัญของการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าร่วมการวิจัยในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
Quasi-Experimental research คืออะไรต้องทำอย่างไร
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณเป็นกูรูด้านการบริหารการศึกษาวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คู่มือปฏิบัติงานพัฒนางานวิจัยฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม TDC (ThaiLIS Digital Colle...
ข้อพิจารณาทางจริยธรรมของการทำวิจัยและการใช้แหล่งข้อมูลในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
ความสำคัญของการเลือกคำถามวิจัยที่ชัดเจน สำหรับการทำวิทยานิพนธ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *