ผู้วิจัยมือใหม่หลายท่านนั้นอยากจะทราบว่ามีเทคนิควิธีการอย่างไร เพื่อที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ และให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและออกมาตรงกับที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยต้องการ
และในบทความนี้ ทางเรามีคำแนะนำที่จะช่วยพัฒนาการทำวิจัยของท่านให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพดีตรงกับที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยต้องการได้ ด้วยแนวทางการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยมือใหม่มักจะทำผิดพลาดกันบ่อยครั้ง
ชอบคัดลอกงานวิจัยเรื่องอื่นมาทำ
บ่อยครั้งที่ผู้วิจัยมือใหม่มักจะหางานวิจัยที่ใกล้เคียงกับหัวข้อที่ตนเองตั้งไว้ แล้วนำงานวิจัยนั้นมาคัดลอกเนื้อหาเป็นงานวิจัยของตนเอง สิ่งนี้คือข้อผิดพลาดที่ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่ 99% มักจะทำ แต่ไม่มีงานวิจัยเรื่องใดที่จะสามารถผ่านการตรวจสอบการคัดลอกเนื้อหางานวิจัยจากโปรแกรมที่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งนั้นใช้ได้
เนื่องจากฐานข้อมูลของโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกเนื้อหางานวิจัยในปัจจุบันมีการใช้ระบบอัลกอริทึมของ AI มาใช้ในการตรวจสอบเนื้อหางานวิจัยที่มีการเผยแพร่และส่งตีพิมพ์ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือ Turnitin ที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นนิยมเลือกใช้ในการตรวจสอบการคัดลอกเนื้อหางานวิจัย
“หากท่านยังมีความคิดที่จะลอกงานวิจัยเล่มอื่นมาเป็นของตนเองนั้น โอกาสที่ท่านจะล้มเหลวก็มีถึง 99% แล้ว”
ชอบรอเวลาใกล้ส่งแล้วค่อยทำ
ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่แล้วจะมีภาระงานที่ต้องทำไปพร้อมกับการทำวิจัย เช่น ท่านทำธุรกิจส่วนตัวแล้วมาเรียนต่อในระดับปริญญาโท ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีเวลาในการทำงานวิจัย ซึ่งส่งผลให้เมื่อถึงกำหนดส่งงานของมหาวิทยาลัยแต่งานวิจัยยังไม่สำเร็จ หรือเพิ่งเริ่มทำงานวิจัยเมื่อใกล้จะส่งในอีก 7 วันข้างหน้า
ในการทำงานวิจัยแต่ละบทนั้นจะต้องมีการวางแผนการทำงาน เพราะงานวิจัยนั้นไม่สามารถที่จะทำสำเร็จได้ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เนื่องจากท่านต้องสังเคราะห์จากงานวิจัยที่ท่านไปสืบค้นมาจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แล้วนำมาเขียนบูรณาการตามความรู้ ความเข้าใจของท่าน และหากท่านไม่สามารถเขียนออกมาตามความรู้ ความเข้าใจของท่านได้ ก็จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถส่งงานวิจัยตามกำหนดระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยให้ไว้ได้
ดังนั้นหากท่านขาดการวางแผนการทำงานวิจัยอย่างดีเพียงพอแล้ว จะทำให้ท่านประสบปัญหาการส่งงานล่าช้า ซึ่งอาจจะทำให้ท่านหมดสิทธิ์ที่จะเป็นผู้สอบในแต่ละครั้ง หรือหมดสิทธิ์ที่จะขึ้นสอบตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ได้
“หากขาดการวางแผนในการทำวิจัยที่ดี จะส่งผลให้การทำงานล่าช้า หรืออาจหมดสิทธิ์ในการสอบตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ได้”
ชอบที่จะให้อาจารย์แนะนำฝ่ายเดียว
ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่แล้วจะคล้อยตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการเซ็นอนุมัติ ตลอดจนวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ปลูกฝังค่านิยมให้มีการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ แต่ความเป็นจริงแล้วในแวดวงวิชาการนั้น นับกันที่คุณวุฒิไม่ใช่วัยวุฒิ ผู้วิจัยมือใหม่แต่ละท่านจึงควรมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง เพื่อที่จะเสนอแนะในทิศทางหรือความสนใจทางวิชาการที่ตนเองมีความรู้ ความเข้าใจอย่างดีเพียงพอ
โดยเฉพาะการมีไอเดียที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านสามารถต่อยอดความรู้หลังจากที่ท่านทำวิจัยจบไปแล้วได้ เนื่องจากจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำวิจัย คือ การพัฒนาความคิดให้ท่านสามารถใช้งานวิจัยในการแก้ไขปัญหาที่จะเจอต่อไปในอนาคตได้ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตหรือปัญหาในการทำธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสามารถใช้กระบวนการทำวิจัยเพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
หากท่านไม่มีความคิดที่จะยืนหยัดหรือมีไอเดียที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่เชื่อคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงฝ่ายเดียว ก็จะส่งผลให้งานวิจัยของท่านนั้นเป็นงานวิจัยที่เป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์ที่ปรึกษา ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของท่านเอง ท่านจึงจำเป็นที่จะต้องมีไอเดียเป็นของตนเอง และเพียงแค่ขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อที่จะมาพัฒนางานวิจัยของท่าน จึงจะสามารถกล่าวได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้คืองานวิจัยที่เป็นของท่านอย่างเต็ม 100%
“ยืนหยัดในความคิดของตนเอง รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพื่อที่นำมาพัฒนางานวิจัยของตยเองให้ดียิ่งขึ้น”
สำหรับข้อพิดพลาดทั้งหมดที่ทางเราได้แนะนำไปข้างต้น เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่ 99% มักจะทำผิดพลาด หากท่านสามารถที่จะป้องกันการทำผิดพลาดต่างๆ เหล่านี้ได้ ก็จะทำให้งานวิจัยของท่านนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี