การทำ IS ที่นักศึกษาหลายท่านกำลังเผชิญกับปัญหาในขั้นตอนการทำ IS เพื่อต้องการจะดำเนินการให้เสร็จทันตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
บทความนี้ ทางเรามีเทคนิคการทำ ISที่ได้รับมาจากผู้ทำงานวิจัยที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และสามารถทำ IS ให้สำเร็จลุล่วงได้ภายใน 30 วัน
เทคนิคที่ 1 การกำหนดตัวแปรที่จะศึกษางาน IS
“การที่มีตัวแปรที่ชัดเจน จะทำให้ทราบว่าทิศทางในการศึกษาในการทำ IS ควรจะเป็นรูปแบบใด”
หลายท่านที่ทำการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณจะต้องมีการกำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็น ตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรตาม
โดยเฉพาะตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ถ้ามีความชัดเจนเพียงพอแล้วเราจะสามารถนำมาเขียนเป็นกรอบแนวคิดที่จะใช้ในการวิจัย โดยจะเชื่อมโยงไปยังคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมุติฐานการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และขอบเขตของการวิจัย
เทคนิคที่ 2 สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีตัวแปรดังกล่าว
“การใช้เนื้อหาข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ จะทำให้ได้ขอบเขตด้านเนื้อหาที่สอดคล้องกับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยและเพียงพอที่จะนำมาอ้างอิงอย่างน่าเชื่อถือ”
เทคนิคการทำ IS ในเทคนิคที่ 2 คือ การหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีตัวแปรดังกล่าว เพื่อที่จะกำหนดว่าเราจะนำเนื้อหาจากงานวิจัยเล่มที่เกี่ยวข้องมาใช้กับงาน IS ที่ท่านทำ ยิ่งถ้าหากว่าได้ทำการกำหนดตัวแปรที่ใช้ได้อย่างชัดเจนแล้ว การที่จะหาเนื้อหาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะไม่ใช่เรื่องยากเลย
เทคนิคที่ 3 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลงาน IS
“ข้อมูลที่ได้ทำการสืบค้นจากเล่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น จะทำให้การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น และสามารถดัดแปลงข้อคำถามจากเนื้อหางานดังกล่าวนำมาประยุกต์ใช้เป็นข้อคำถามแบบสอบถามสำหรับงาน IS ของเราได้”
หลังจากได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับตัวแปรที่เรากำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว จะทำให้การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณจะสะดวกมากขึ้น เพราะเราจะสามารถใช้ข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เราสืบค้นได้
สอบถามของเรา ปรับข้อคำถามให้เข้ากับกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการกำหนดไว้และไม่ซ้ำกับเล่มงานวิจัยดังกล่าว จะทำให้ง่ายในการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
การที่เราสามารถสืบค้นข้อมูลได้เร็ว จะทำให้เราสร้างเครื่องมือที่ใช้ทำวิจัยได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อสามารถกำหนดระยะเวลาไว้ว่าไม่เกิน 7 วัน
และระหว่างนั้นเราก็มีการสร้างแบบสอบถามหลังจากทราบขอบเขตที่ชัดเจนแล้ว เราก็จะสามารถใช้เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นก็คือแบบสอบถามนี้ นำมาแจกออนไลน์ โดยสร้าง Google ฟอร์มขึ้นมา เพื่อที่จะส่งลิงค์ในการขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างที่เราเลือกไว้ก่อนแล้วว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างใด
เพื่อที่จะนำลิงค์ Google ฟอร์มจากแบบสอบถามนี้ แจกไปยังกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งหลังจากนั้นถ้าเรากำหนดระยะเวลาไว้เพียงพอแล้ว เราจะทราบได้เลยว่าแบบฟอร์มที่แจกออกไป จะมีข้อมูลตีกลับกลับมาได้จำนวนเท่าไร
เทคนิคที่ 4 คือ กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะ
หลังจากที่เราสร้างเครื่องมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว และแจกแบบสอบถามออนไลน์เรียบร้อยแล้ว เราจะมีเครื่องมือสำเร็จรูป และพร้อมที่จะนำมาสังเคราะห์เรียบเรียงเป็นนิยามศัพท์กับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เมื่อสามารถกำหนดนิยามศัพท์ได้เรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถนำนิยามศัพท์ดังกล่าวนี้ ไปสรุปให้สอดคล้องได้ในบทที่ 2 และนำบทสรุปดังกล่าวมาค้นหาความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หรือองค์ประกอบที่สอดคล้องกับตัวแปร เพื่อที่จะทำการศึกษาวิจัยต่อเนื่องไปจากนิยามศัพท์ที่เรานำมาสรุปไว้
ขั้นตอนที่ 5 คือ รีวิวแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องตามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
การรีวิวตัวแปรที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการวิจัยจะต่อเนื่องมาจากการกำหนดนิยามศัพท์ไว้อย่างชัดเจนแล้ว เนื่องจากว่าเมื่อเราได้กำหนดนิยามศัพท์แล้ว เราจะทราบว่าตัวแปรที่เราใช้จะต้องใช้แนวคิด หรือทฤษฎีใด เพื่อนำมารีวิวไว้ในบทที่ 2
ดังนั้นหากสามารถกำหนดตัวแปรได้ชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการนำเนื้อหาจากข้อคำถามมาสร้างเป็นนิยามศัพท์ และนำนิยามศัพท์มากำหนดไว้ในบทที่ 2 ซึ่งจะทำให้เราประหยัดระยะเวลาในการสืบค้นเนื้อหา หรือสังเคราะห์เนื้อหาจากแนวคิดที่เราต้องการได้เป็นอย่างมาก
“ดังนั้นระยะเวลา 10 วันที่เหลือ เราจะใช้ระยะเวลาดังกล่าวมาทำการสรุปผลของการวิจัย และทำการอภิปรายผล เพื่อที่จะทำให้ IS ของท่านสำเร็จลุล่วงไปได้ครบถ้วน 5 บท ตามกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน”
การทำ IS ให้ประสบความสำเร็จในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน คุณต้องมีการวางแผนการทำงานแบ่งสัดส่วนที่จะต้องทำให้ชัดเจน เพื่อให้คุณใช้ระยะเวลาได้อย่างคุ้มค่า และลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน IS หรือถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดคุณก็จะมีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)