เรียนรู้ 5 ขั้นตอนก่อนเริ่มทำโปรเจคจบ

การทำโปรเจคจบนักศึกษาแต่ละท่านนั้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหาว่าควรในขั้นตอนกระบวนการทำ ซึ่งโปรเจคจบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกัน และด้วยผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาในการศึกษาขั้นตอนของการทำโปรเจคจบที่มากพอ

สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงในภาพรวมขั้นตอนของการทำเล่มโปรเจคที่สอดคล้องกัน ซึ่งท่านสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานวิจัยอื่นๆ ของท่านได้อีกด้วย

ขั้นตอนที่ 1 ต้องรู้ว่าตนเองถนัดอะไร

การทำโปรเจคจบแต่ละครั้งท่านต้องรู้ว่าตนเองถนัดอะไร และการทำโปรเจคแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปแบบกลุ่ม

การทำโปรเจคจบรูปแบบกลุ่มจะต้องมีการสอบถามสมาชิกในกลุ่มก่อนว่า จะโฟกัสไปที่ความถนัดด้านอะไรที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนั้นถนัดเหมือนกัน และสามารถเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยเฉพาะหากว่ามีแกนนำที่ถนัด หรือมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรจะเป็นแกนนำในการที่จะทำโปรเจคจบ

หลังจากนั้นนำมาปรึกษากันภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มคนที่เหลือนั้นให้ความคิดเห็นหรือแบ่งงานกันทำ ซึ่งจะทำให้กลุ่มที่ทำโปรเจคจบร่วมกันนั้น สามารถที่จะทำงานให้สำเร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

ขั้นตอนที่ 2 ต้องรู้ว่าตนเองไม่ถนัดอะไร

การรู้ว่าตนเองถนัดอะไรไม่สำคัญเท่ากับรู้ว่าตนเองไม่ถนัดอะไร เพราะว่าการทำโปรเจคจบแต่ละครั้งนั้น สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญ คือ รูปแบบของโปรเจคที่ท่านจะต้องดำเนินการ หากว่าท่านไม่เข้าใจว่าตนเองไม่ถนัดอะไร และไม่มีการแจ้งกับอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ก่อนเบื้องต้นว่าตนเองนั้นไม่ถนัด ก็จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาไม่สามารถแนะนำท่านให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทำให้ท่านนั้นไม่กล้าที่จะปฏิเสธคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลาทั้งสองฝ่าย

ขั้นตอนที่ 3 ต้องรู้ว่าจะโฟกัสกับอะไร

การที่ท่านจะลงมือทำเล่มโปรเจคจบนั้น ท่านจะต้องรู้ว่าเล่มโปรเจคของท่าน สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด หรือว่าเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถการวางแผนงาน กำหนดรายละเอียดว่าแต่ละบทของโปรเจคจบของท่านควรจะใช้เนื้อหาสาระสำคัญอย่างไรบ้าง

เนื่องจากว่าการทำเล่มโปรเจคจบแต่ละครั้งนั้น ส่วนใหญ่จะเลือกทำในสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับบางคนเท่านั้น แต่สำหรับบางคนแล้ว อาจจะเป็นสิ่งที่โฟกัสผิดพลาด การเริ่มต้นทำในสิ่งที่ยากที่สุดก่อน เมื่อผ่านไปได้แล้วจะทำให้ส่วนที่เหลือที่เป็นสิ่งที่ง่ายนั้น สามารถทำได้สำเร็จรวดเร็วมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 ต้องรู้ว่าอาจารย์ที่ปรึกษามีเวลาว่างช่วงไหน

การขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษานั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านนั้น มีภาระงานทางวิชาการค่อนข้างมาก การที่จะขอเวลาเข้าพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการติดต่อขอนัดไว้ก่อนล่วงหน้า

เนื่องจากการขอเข้าพบแต่ละครั้งจำเป็นที่จะต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบงานและมีการให้คำแนะนำกับการทำโปรเจคจบเล่มของท่าน

แนะนำ ส่งผลให้อาจจะหลงลืมประเด็นที่สำคัญที่ควรจะโฟกัสในการทำเล่มโปรเจคจบดังกล่าว

การรีบร้อนหรือการให้ระยะเวลาที่น้อยเกินไปกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำกับเล่มโปรเจคจบ เป็นสิ่งที่อาจจะส่งผลเสียในการที่จะแก้ไขจำนวนหลายครั้ง 

เพราะมีเวลาในการที่จะตรวจทานน้อย อาจารย์ที่ปรึกษาจึงให้คำแนะนำที่เกี่ยวกับเล่มโปรเจคจบได้น้อยลง และอาจจะจำเป็นต้องใช้เวลาในการเข้าพบหลายครั้ง เพื่อที่จะให้แก้ไขตามคำแนะนำ ให้สอดคล้องกับเล่มโปรเจคจบดังกล่าว

ขั้นตอนที่ 5 ต้องรู้ว่าโปรเจคมีประโยชน์กับใคร

การทำโปรเจคจบ มีสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ ต้องรู้ว่าโปรเจคของท่านจะมีประโยชน์กับคนกลุ่มไหน เพื่อที่จะนำเสนอผลลัพธ์เล่มโปรเจคให้สอดคล้องกับความต้องการของตั้งเป้าหมายการศึกษาเล่มโปรเจคดังกล่าวได้

โดยเฉพาะการนำเล่มโปรเจคนี้ ไปนำเสนอกับองค์กรหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะนำเสนอผลลัพธ์ และทักษะความรู้ ความสามารถของตนเอง เพื่อต่อยอดหลังจบการศึกษาออกไปแล้ว

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *