หัวข้อวิจัย ผ่านง่าย_หัวข้อวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_งานวิทยานิพนธ์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_การทำงานวิทยานิพนธ์_ดุษฎีนิพนธ์_การทำดุษฎีนิพนธ์_ งานดุษฎีนิพนธ์_จ้างทําวิจัย

5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย

หัวข้อวิจัย เป็นจุดแรกที่ผู้อ่านหรือผู้วิจัยที่ต้องการศึกษาวิจัยมองเป็นอันดับแรก ฉะนั้น ชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัย จึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก

หัวข้อวิจัย จะต้องเป็นชื่อที่มีความชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย และไม่คลุมเครือ เพราะจะต้องเป็นชื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจต่อผู้อ่าน หรือผู้วิจัยที่ต้องการทำการศึกษางานวิจัยให้เข้าใจในปัญหางานวิจัย รวมถึงวิธีการดำเนินงานวิจัยเล่มนั้นๆ อีกด้วย 

พบกับ 5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย เป็นเทคนิคที่แนะนำวิธีในการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยให้มีความเหมาะสมชัดเจน และมีความน่าในใจ

1. สั้น กระชับ และชัดเจน

ในการหัวข้อวิจัย ควรใช้คำที่มีความเฉพาะเจาะจง สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน และควรใช้ภาษาที่สามารถเข้าใจง่าย กระชับ โดยชื่อหัวข้อไม่ควรสั้นจนทำให้ความหมายทางงานวิชาการขาดหายไป

2. ตรงกับประเด็นของปัญหา

การตั้งหัวข้อวิจัย ควรเป็นหัวข้อเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ศึกษางานวิจัยทราบได้ทันทีว่า งานวิจัยนั้นๆ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีเป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น การตั้งหัวข้อวิจัย ควรเป็นหัวข้อที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับประเด็นของปัญหาได้อย่างชัดเจน

3. บ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้อย่างชัดเจน

ควรทำการตั้งหัวข้อวิจัยที่สามารถบ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทงานวิจัยได้ 5 ประเภท ดังนี้

– งานวิจัยเชิงสำรวจ ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษา ไว้ในชื่อหัวข้อวิจัย และอาจจะมีการระบุตัวแปรร่วมด้วย เช่น การสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่ทางภาคเหนือ หรือ การสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่ทางภาคเหนือ เป็นต้น

– งานวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ เป็นชื่อหัวข้อวิจัย ที่ใช้คำในลักษณะ การศึกษาเปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ ไว้นำหน้า ที่สามารถสื่อความหมายหัวข้อให้เห็นถึงความแตกต่างได้ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคมของวัยรุ่นที่กระทำผิดครั้งแรก เป็นต้น

– งานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ สำหรับงานวิจัยประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้คำหน้าชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร เป็นต้น 

– งานวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การตั้งชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยส่วนใหญ่จะใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ ไว้หน้าชื่อหัวข้อวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเรียนรู้เด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เป็นค้น

– งานวิจัยเชิงทดลอง สำหรับการตังชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัยในงานวิจัยประเภทนี้ เป็นการตั้งวชื่อหัวข้อที่มีความแตกต่างตามลักษณะของการทดลอง โดยใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ในการนำหน้าชื่อหัวข้อวิจัย เช่น การทดลองเพาะเห็ดในจังหวัดชัยนาท, การวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนในหน่อไม้, หรือ การเปรียบเทียบการตอบสนองลักษณะทางสรีรวิทยา และองค์ประกอบชีวเคมีน้ำยางของยางพารา เป็นต้น

4. ปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของคำนาม 

นอกจากจะตั้งชื่อหัวข้อวิจัยให้มีความกระชับ ชัดเจน และถูกประเภทงานวิจัยแล้ว ชื่อเรื่องควรมีควรสละสลวยและไพเราะ มีการปรับแต่งโดยใช้ลักษณะของ คำนาม นำหน้า จะทำให้อ่านได้ลื่นไหลกว่าการใช้ คำกริยา นำหน้าชื่อหัวข้อ เช่น จากคำว่า 

ศึกษา ปรับเป็น การศึกษา 
– เปรียบเทียบ ปรับเป็น การเปรียบเทียบ
– สำรวจ ปรับเป็น การสำรวจ เป็นต้น

5. เป็นข้อความเรียงที่สละสลวย มีใจความสมบูรณ์ 

การกำหนดชื่อหัวข้อวิจัย ควรมีเนื้อหาข้อความเรียงที่สละสลวย และมีใจความที่สมบูรณ์ เป็นชื่อที่สามารถระบุได้ชัดเจน ทราบถึงจุดมุ่งหมายของงานวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย

เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยเจ้าพระยานครสวรรค์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เพราะ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อหัวข้อวิจัยสั้นๆ ไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น ทัศนคติของนักศึกษาครู เป็นต้น

จาก 5 เทคนิค ตั้งหัวข้อวิจัย ให้ผ่านง่าย การตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยไม่ใช่เพียงแค่ต้องเป็นชื่อหัวข้อให้มีดึงดูดและน่าสนใจเท่านั้น แต่จะต้องเป็นชื่อหัวข้อที่สั้นกระชับ ชัดเจน มีความถูกต้องตรงกับประเด็นของปัญหา สามารถบ่งบอกถึงประเภทของงานวิจัยได้ มีเนื้อหาข้อความเรียงที่สละสลวย และมีใจความที่สมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ต้องการทำการศึกษางานวิจัยเข้าใจในปัญหางานวิจัย รวมถึงวิธีการดำเนินงานวิจัยได้ทันที

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย

Related posts:

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ทันสมัยกับเหตุการณ์ในยุคปัจจุบันต้องทำอย่างไร
กุญแจสู่ความสำเร็จของคุณ: การทำวิจัยเชิงพรรณนา
ตัวอย่างวรรณกรรม หรือทฤษฎีที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับ การเป็นผู้บริหารในยุคดิจิตอล
5 เหตุผลที่การวิทยานิพนธ์ไม่เป็นอย่างที่คิดตามหลักการทำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
วิธีการเข้าถึง บริการรับทำวิทยานิพนธ์
ประโยชน์ของการใช้บทนำวิทยานิพนธ์เพื่อส่งเสริมการวิจัยเพิ่มเติมหรือการสำรวจในหัวข้อ
การเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อการศึกษา ทำอย่างไรให้งานวิจัยมีค่า
11 สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการจ้างทำวิจัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *